เมนู

อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาติ


ปัณณาสก์


เมตตาวรรคที่ 1


1. เมตตสูตร


[91] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ
อันบุคคลเสพแล้วโดยเอื้อเฟื้อ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว กระทำ
ให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง หมั่นเจริญเนือง ๆ สั่งสมไว้
โดยรอบ ปรารภด้วยดี พึงหวังได้อานิสงส์ 8 ประการ ประการ
เป็นไฉน คือหลับก็เป็นสุข 1 ตื่นก็เป็นสุข 1 ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก 1
เป็นที่รักของมนุษย์ 1 เป็นที่รักของอมนุษย์ 1 เทวดาย่อมรักษา 1
ไฟ ยาพิษ หรือศาตราไม่กล้ำกลายผู้นั้น 1 เมื่อแทงตลอดคุณธรรม
ที่สูงขึ้นไปยังไม่ได้ ย่อมไปบังเกิดในพรหมโลก 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้วโดยเอื้อเฟื้อ เจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง หมั่น
เจริญเนือง ๆ สั่งสมไว้โดยรอบ ปรารภด้วยดี พึงหวังได้อานิสงส์
8 ประการนี้.

ก็ผู้ใดมีสติมั่นคง เจริญเมตตาอันหา
ประมาณมิได้ สังโยชน์ของผู้นั้น ผู้เห็นธรรมเป็น
ที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส ย่อมเบาบาง หากว่าเขา
ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายสัตว์แม้สักตัวเดียว เจริญ
เมตตาจิตอยู่ เพราะเจริญเมตตาจิตนั้น ย่อมเป็น
กุศล เขามีใจอนุเคราะห์หมู่สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้
ประเสริฐ กระทำบุญมาก พระราชาผู้ประกอบ
ด้วยธรรมเช่นกับฤาษี ชนะแผ่นดินอันประกอบ
ด้วยหมู่สัตว์ เจริญรอยตามกัน บูชายัญเหล่านี้
คือ สัสสเมธ ความทรงพระราชาในการบำรุง
พืชพันธุ์ธัญญาหาร ปุริสเมธ ทรงพระปรีชาใน
การเกลี้ยกล่อมประชาชน สัมมาปาสะ มีพระ
อัธยาศัยดุจบ่วงคล้องน้ำใจประชาชน วาชเปยยะ
มีพระวาจาเป็นที่ดูดดื่มน้ำใจคน ซึ่งมีผลคือทำให้
นครไม่ต้องมีลิ่มกลอน มหายัญเหล่านั้นทั้งหมด
ยังไม่เทียบเท่าส่วนที่ 16 แห่งเมตตาจิตที่บุคคล
เจริญดีแล้ว ดุจกลุ่มดวงดาวทั้งหมด ไม่เทียบเท่า
แสงจันทร์ ฉะนั้น ผู้ใดมีเมตตาจิตในสรรพสัตว์
ไม่ฆ่า (สัตว์) เอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง
ไม่ใช่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใคร ๆ.

จบ เมตตาสูตรที่ 1

มโนรถปูรณี


อรรถกถาอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต


เมตตาวรรคที่ 1


อรรถกถาเมตตาสูตรที่ 1


อัฏฐกนิบาต สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาเสวิตาย แปลว่า เสพโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า ภาวิตาย
แปลว่า เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตาย แปลว่า กระทำบ่อย ๆ.
บทว่า ยานีกตาย แปลว่า กระทำให้เป็นดุจยานอันเทียมแล้ว
(ด้วยม้า). บทว่า วตฺถุกตาย แปลว่า กระทำให้เป็นดุจวัตถุที่ตั้ง
เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งไว้. บทว่า อนุฏฺฐิตาย แปลว่า เข้าไปตั้ง
ไว้เฉพาะ. (คือปรากฏ). บทว่า ปริจิตาย แปลว่า สั่งสมไว้คือ
เข้าไปสั่งสมไว้โดยรอบ. บทว่า สุสมารทฺธาย แปลว่า เริ่มไว้ดีแล้ว
คือกระทำไว้ดีแล้ว. บทว่า อานิสํสา ได้แก่ คุณความดี. คำที่จะ
พึงกล่าวในบทว่า สุขํ สุปติ ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้าจักกล่าวใน
เอกาทสกนิบาตข้างหน้า.
บทว่า อปฺปมาณํ คือไม่มีประมาณโดยการแผ่ไป. บทว่า
ตนู สํโยชนา โหนฺติ ปสฺสโต อุปธิกฺขยํ ความว่า สังโยชน์ 10
อันผู้บรรลุพระอรหัตกล่าวคือ ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิกิเลสโดยลำดับ
ละได้วด้วยวิปัสสนามีเมตตาเป็นปทัฏฐาน (คือเหตุใกล้ที่สุด). อีก
อย่างหนึ่ง บทว่า ตนู สํโยชนา โหนฺติ ความว่า ปฏิฆะ และสังโยชน์